บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี วันที่ 13 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2556
ครั้งที่ 2 เวลา 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
เนื้อหาที่ได้เรียน
เนื้อหาที่ได้เรียน
ความหมายคณิตศาสตร์
ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
-เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
-ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักกการทางคณิตศาสตร์
-เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
-เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดของ Piaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส ( แรกเกิด-2ปี )
-เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส
-สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล ( 2-7 ปี )
-ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
-เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
>> เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
>> ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้
>> การอนุรักษ์ ( Conervation )
เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
-โดยการนับ
-การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาณ
-เรียงลำดับ
-จับกลุ่ม
หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์
-ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
-ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-ใช้คำปลายเปิด
-เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ได้ทำวันนี้
สิ่งที่ได้เรียนและการนำไปใช้
ได้รู้ความหมายและความสำคัญของคำว่า คณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น เข้าใจมากขึ้นว่าในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรายังไง ทางทฤษฎีของเพียเจย์เค้ากล่าวไว้อย่างไร เด็กแต่ละวัยแต่ละขั้น มีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เมื่อเรารู้แล้วเราก็จะเอาสิ่งที่ได้เรียนไปใช้โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในหลักของคณิตศาสตร์และสามารถเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานได้อีกด้วย สามารถจัดประสบการณ์โดยให้เด็กมีความสัมพันธ์หลายรูปแบบของคณิตศาสตร์ ที่สำคัญเราต้องใช้คำถามที่เป็นปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดออกมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น