วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4




บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วิชา     การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี วันที่ 27 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ  2556


ครั้งที่ 4   เวลา 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าเรียน  08.30 น. เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.



           วันนี้มีการนำเสนอเป็นกลุ่มที่อาจารย์ได้จัดไว้ให้แต่ละกลุ่มโดยนำเสนอกลุ่มละ 1 หัวข้อ

กลุ่มของดิฉันได้มีการนำเสนอ

เรื่อง พีชคณิต













กลุ่มของเพื่อนๆที่นำเสนอ
































สิ่งที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                        ได้รู้เกี่ยวกับการวัด รูปทรงเลขาคณิต จำนวนและการดำเนินการ และพีชคณิตมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปสอนเด็กและไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย เพราะคณิตศาสตร์ไม่ได้มีแค่การบวก การลบ การคูณ การหาร เมื่อเรารู้หลักการของคณิตศาสตร์แล้วก็จำทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามรถนำเอาหลักการที่เราเรียนไปใช้อย่างมีเหตุผล การคิดวิเคราห์ การคิดอย่างมีเหตุผล การเปรียบเทียบ การคำนวณต่างๆเป็นต้น สามารถนำไปสอนให้เด็กเรียนรู้ในอนาคตได้อีกด้วย 




วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3




บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


วิชา     การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ  2556


ครั้งที่ 3   เวลา 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าเรียน  08.30 น. เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


เนื้อหาที่ได้เรียน

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                    -เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
                    -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
                    -เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
                    -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
                    -เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
                    -เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

                                   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                     
                      1.การสังเกต ( Observation )
                   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
                   -โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดหมาย
                      2.จำแนกประเภท ( Classifying )
                   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
                   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
                      3.การเปรียบเทียบ ( Comparing )
                   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
                   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์
               ที่ต้องใช้
                      4.การจัดลำดับ ( Ordering )
                    -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
                    -การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
                      5.การวัด ( Measurement )
                    -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
                    -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

* การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด *

                       6.การนับ ( Counting )
                     -เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าความหมาย
                     -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
                       7.รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size )
                      -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

                                          คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
                    - ตัวเลข              -   น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
                    - ขนาด              -   ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
                    - รูปร่าง              -    สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
                    - ที่ตั้ง                 -    บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
                    - ค่าของเงิน      -    สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าสิบ ห้าบาท สิบบาท
                    - ความเร็ว         -    เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
                    - อุณหภูมิ          -    เย็น ร้อน อุ่น เดือด


ความแตกต่างของภาพ



ภาพนี้มีความแตกต่างที่ ขนาด ความสูง น้ำหนัก
                     ทักษะที่ได้
                  - การสังเกต
                  - จำแนกประเภท
                  - การเปรียบเที่ยบ
                  - การจัดลำดับ
                  - การวัด



ภาพนี้มีความแตกต่างที่ การนับ จำนวน  ขนาด ความสูง
                       ทักษะที่ได้
                    - การสังเกต
                    - จำแนกประเภท
                    - การเปรียบเที่ยบ
                    - การวัด
                    - การนับ
                    - รูปทรงและขนาด






ภาพนี้มีการใช้ทักษะด้านคณิตศาสตร์
                       ทักษะที่ได้
                    - การสังเกต
                    - จำแนกประเภท
                    - การเปรียบเที่ยบ
                    - การวัด
                    - การนับ
                    - รูปทรงและขนาด




กิจกกรรมที่ได้ทำ

                                         สิ่งที่ได้ทำกิจกรรมชิ้นนี้
                                   -ได้การสังเกตจากการเดินทางจากที่หอพักมาถึงมหาวิทยาลัย
                                   -ได้จำแนกประเภทกับสิ่งที่เดินผ่านว่ามีความแตกต่างกัน
                                   -ได้การเปรียบเทียบว่าและลำดับเหตุการณ์ว่าสิ่งไหนถึงก่อนถึงหลัง
                                   -ได้การวัดระยะทางและความยาวระหว่างการเดินทาง
                                   -ได้การนับว่าสิ่งที่เดินผ่านนั้นผ่านอะไรบ้าง 
                                   -ได้รู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดของตึกและบ้านที่เดินผ่าน

ตัวอย่างเกมส์การศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

              หน่วยน้ำ

                                            

                หน่วยพ่อของฉัน
                                                
                                                           

                    หน่วยอวกาศ
          
                      
                     

          สิ่งที่ได้และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                     สิ่งที่เรียนมาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดย การคำนวณ การคิด การวัด การปริมาณ การบวก การลบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ใช้ในชีวตประจำวันล้วนๆ คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานทุกคนต้องใช้ไม่ว่าจะคำนวณและอีกหลายๆอย่าง บางครั้งก็อาจจะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน มีการตรวจดูและควบคุมเพื่อให้รายรับรายจ่ายพอเหมาะต่อการดำรงชีวิต ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนต้องมีการนึกคิด และจินตานาการต่างๆ ทุกคนก็ต้องการทำในสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ขาดทุนและถูกเอาเปรียบ เมื่อเราเรียนรู้แล้วก็จะทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข





วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2




บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วิชา     การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี วันที่ 13 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ  2556


ครั้งที่ 2   เวลา 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าเรียน  08.30 น. เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

เนื้อหาที่ได้เรียน
                    
                    ความหมายคณิตศาสตร์
         ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน

                    ความสำคัญของคณิตศาสตร์
          -เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
          -ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักกการทางคณิตศาสตร์
          -เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
          -เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                     ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย  ตามแนวคิดของ Piaget
         
         1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส ( แรกเกิด-2ปี )
           -เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส
           -สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
         2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล ( 2-7 ปี )
           -ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
           -เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว

           >>  เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
           >>  ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้

           >>  การอนุรักษ์ ( Conervation )
         เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
           -โดยการนับ
           -การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
           -การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาณ
           -เรียงลำดับ
           -จับกลุ่ม

                     หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                -เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์
                -ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
                -ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
                -ใช้คำปลายเปิด
               -เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

    กิจกรรมที่ได้ทำวันนี้





สิ่งที่ได้เรียนและการนำไปใช้
             
                     ได้รู้ความหมายและความสำคัญของคำว่า คณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น เข้าใจมากขึ้นว่าในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรายังไง ทางทฤษฎีของเพียเจย์เค้ากล่าวไว้อย่างไร เด็กแต่ละวัยแต่ละขั้น มีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เมื่อเรารู้แล้วเราก็จะเอาสิ่งที่ได้เรียนไปใช้โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในหลักของคณิตศาสตร์และสามารถเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานได้อีกด้วย สามารถจัดประสบการณ์โดยให้เด็กมีความสัมพันธ์หลายรูปแบบของคณิตศาสตร์ ที่สำคัญเราต้องใช้คำถามที่เป็นปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดออกมา


วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1




บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


วิชา     การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี วันที่ 6 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ  2556


ครั้งที่ 1   เวลา 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าเรียน  08.30 น. เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


แผนผังความคิดก่อนเรียน








สิ่งที่ได้และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
           
                ทำให้เรามีทักษะในการแก้ปัญหา กานำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ การวัด การอ่าน การประมาณ เป็นต้น ที่สำคัญยังฝึกฝนให้เราทำโจทย์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย ที่สำคัญถ้าหากเราไม่มีการฝึกฝนก็จะทำให้เราไม่สามารถเก่งคณิตศาศตร์ได้เลย แต่ถ้าได้ฝึกฝนก็จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาของโจทย์ได้ เราจะสามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประวันได้ เพราะคณิตศาสตร์ไม่ใช่เพียงให้คิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้น แต่การเรียนคณิตศาสตร์ถือเป็นศักยภาพทางคณิตศาสตร์ คือ ความสามารถในการสำรวจ การคาดเดา การให้เหตุผล และกานำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ